เมนู

มีรูปขันธ์เป็นต้น ด้วยฉันทราคะ เหตุนั้นจึงชื่อว่าสัตตะ สัตว์มีชีวิตทั้งหลาย
ท่านเรียกว่าสัตตะ แต่เพราะศัพท์ขยายความ โวหารนี้ จึงใช้แม้ในท่านผู้
ปราศจากราคะแล้วเท่านั้น.
บทว่า อปฺปรชกฺขชาติกา ความว่า กิเลสดุจธุลีคือราคะ โทสะ และ
โมหะ ในดวงตาที่สำเร็จด้วยปัญญาของสัตว์เหล่านั้น มีเล็กน้อย และสัตว์
เหล่านั้น ก็มีสภาพอย่างนั้น เหตุนั้น สัตว์เหล่านั้น ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีใน
ดวงตาน้อย หรือว่า กิเลสดุจธุลีมีราคะเป็นต้นของสัตว์เหล่าใดน้อย สัตว์
เหล่านั้น ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีน้อย. พึงเห็นความในข้อนี้อย่างนี้ว่า สัตว์เหล่านั้น
ชื่อว่า อปฺปรชกฺขชาติกา เพราะมีกิเลสดุจธุลีในดวงตาน้อยเป็นสภาพ แก่
สัตว์ผู้มีกิเลสดุจธุลีในดวงตาน้อยเป็นสภาพเหล่านั้น พึงทำการเปลี่ยนวิภัตติว่า
สตฺตานํ แล้วทำการเชื่อมกับคำนี้ว่า เทเสหิ ธมฺมํ ก็เห็นความได้. คำว่า เทเสหิ
นี้เป็นคำวอนขอ. อธิบายว่าโปรดแสดง กล่าว สอน. ในคำว่า ธมฺมํ นี้

ธัมม-
ศัพท์

นี้ ใช้กันในอรรถทั้งหลายมีปริยัตติ สมาธิ ปัญญา ปกติ สภาวะ
สุญญตา บุญ อาบัติ เญยยะ และจตุสัจธรรมเป็นต้น. จริงอย่างนั้น ธัมมศัพท์
ใช้ในอรรถว่า ปริยัตติ ได้ในบาลีเป็นต้นว่า อิธ ภิกฺขุ ธมฺมํ ปริยาปุณาติ
สุตฺตํ เคยฺยํ เวยฺยากรณํ ฯ เป ฯ เวทลฺลํ ภิกษุในพระศาสนานี้ย่อมเรียน
ธรรมคือสุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ ฯลฯ เวทัลละ ดังนี้.
ใช้ในอรรถว่า ปัญญา ได้ในบาลีเป็นต้นว่า
ยสฺเสเต จตุโร ธมฺมา วานรินฺท ยถา ตว
สจฺจํ ธมฺโม ธิติ จาโค ทิฏฺฐํ โส อติวตฺตติ.

ท่านพระยาวานร ผู้ใดมีธรรม 4 ประการคือ
สัจจะ ธรรมะ [ปัญญา] ธิติ จาคะ เหมือนอย่างท่าน
ผู้นั้น ย่อมล่วงศัตรูเสียได้.

ใช้ในอรรถว่า ปกติ ได้ในบาลีเป็นต้นว่า ชาติธมฺมา ชราธมฺมา
อโถ มรณธมฺมิโน สัตว์ทั้งหลาย มีชาติเป็นปกติ มีชราเป็นปกติและ
มีมรณะเป็นปกติ.

ใช้ในอรรถว่า สภาวะ ได้ในบาลีเป็นต้นว่า กุสลา ธมฺมา อกุสลา
ธมฺมา อพฺยากตา ธมฺมา สภาวธรรมฝ่ายกุศล สภาวธรรมฝ่าย
อกุศล สภาวธรรมฝ่ายอัพยากฤต.

ใช้ในอรรถว่า สุญญตา ได้ในบาลีเป็นต้นว่า ตสฺมึ โข ปน สมเย
ธมฺมา โหนฺติ ขนฺธา โหนฺติ สมัยนั้นก็มีแต่ความว่างเปล่า มีแต่
ขันธ์.

ใช้ในอรรถว่า บุญ ได้ในบาลีเป็นต้นว่า ธมฺโม สุจิณฺโณ สุขมา-
วหาติ บุญอันบุคคลสั่งสมไว้ ย่อมนำมาซึ่งความสุข.

ใช้ในอรรถว่า อาบัติ ได้ในบาลีเป็นต้นว่า เทฺว อนิยตา ธมฺมา
อาบัติอนิยต มี 2 สิกขาบท.

ใช้ในอรรถว่า เญยยะ ได้ในบาลีเป็นต้นว่า สพฺเพ ธมฺมา สพฺพา-
กาเรน พุทฺธสฺส ภควโต ญาณมุเข อาปาถํ อาคจฺฉนฺติ
เญยยธรรม
ทั้งหมด มาปรากฏในมุขคือพระญาณของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า โดยอาการ
ทั้งปวง.
ใช้ในอรรถว่า จตุสัจธรรม ได้ในบาลีว่า ทิฏฺฐธมฺโม ปตฺตธมฺโม
วิทิตธมฺโม
ผู้มีสัจธรรม 4 อันเห็นแล้ว ผู้มีสัจธรรม 4 อันบรรลุแล้ว ผู้มี

สัจธรรม 8 อันรู้แล้ว แม้ในที่นี้ ธัมมศัพท์ ก็พึงเห็นว่า ใช้ในอรรถว่า
จตุสัจธรรม. บทว่า อนุกมฺป ได้แก่ โปรดทรงทำความกรุณาเอ็นดู ท่านกล่าว
ชี้หมู่สัตว์ด้วยบทว่า อิมํ. บทว่า ปชํ ความว่า ชื่อว่า ปชา เพราะเป็นสัตว์
เกิดแล้ว ซึ่งหมู่สัตว์นั้น. อธิบายว่า ขอจงโปรดปลดปล่อยหมู่สัตว์จากสังสาร-
ทุกข์ด้วยเถิด. ส่วนอาจารย์บางพวกกล่าวว่า
พระผู้เป็นใหญ่ในโลกคือพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้
สูงสุดในนรชน อันหมู่พรหมทำอัญชลีทูลวอนขอแล้ว.

คาถานี้ มีความที่กล่าวมาโดยประการทั้งปวง ด้วยกถาเพียงเท่านี้.
ครั้งนั้น พระมหากรุณาเกิดขึ้นโดยเพียงทำโอกาสในสัตว์ทั้งปวง แด่
พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้มีกำลังแห่งพระกรุณาผุดขึ้นในสมัยที่กำหนดไม่ได้ เพราะ
ทรงสดับคำวอนขอของท้าวสหัมบดีพรหมนั้น ทรงมีพระกำลังสิบ ทรงสำรวจ
ด้วยพระมติอันละเอียดในการทรงทำประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น. แต่ครั้งทำ
สังคายนา ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย เมื่อแสดงความเกิดพระกรุณาของ
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น จึงตั้งคาถานี้ว่า
ความมีพระกรุณาในสรรพสัตว์ เกิดขึ้นแด่พระ
ตถาคต ผู้มีวิชชาและจรณะพรักพร้อมแล้ว ผู้คงที่
ผู้ทรงความรุ่งโรจน์ ทรงพระกายครั้งสุดท้าย ไม่มี
บุคคลจะเปรียบปานได้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมฺปนฺนวิชฺชาจรณสฺส ความว่า ชื่อว่า
สัมปันนะ มี 3 คือ ปริปุณณสัมปันนะ สมังคิสัมปันนะ และ มธุรสัม-
ปันนะ
ในสัมปันนะนั้น สัมปันนะ นี้ว่า

สมฺปนฺนํ สาลิเกทารํ สุวา ภุญฺชนฺติ โกสิย
ปฏิเวเทมิ เต พฺรหฺเม น นํ วาเรตุมุสฺสเห.
ดูก่อนโกสิยพราหมณ์ นกแขกเต้าทั้งหลายกิน
ข้าวสาลีในนาที่บริบูรณ์ ดูก่อนพราหมณ์ เราขอแจ้งให้
ท่านทราบ ท่านจะไม่อุตสาหะป้องกันข้าวสาลีในนา
นั้นหรือ.
ชื่อว่า ปริปุณณสัมปันนะ.
สัมปันนะ นี้ว่า อิมินา ปาติโมกฺขสํวเรน อุเปโต โหติ สมุเปโต
อุปคโต มุปคโต สมฺปนฺโน สมนฺนาคโต ภิกษุ ย่อมเป็นผู้เข้าถึงแล้ว
เข้าถึงพร้อมแล้ว เข้าไปแล้ว เข้าไปพร้อมแล้ว พรั่งพร้อมแล้ว ประกอบ
ด้วยปาติโมกขสังวรนี้. ชื่อว่า สมังคิสัมปันนะ.
สัมปันนะ นี้ว่า อิมิสฺสา ภนฺเต มหาปฐวิยา เหฏฺฐิมตลํ สมฺปนฺนํ
เสยฺยถาปิ ขุทฺทมธุํ อนีลกํ เอวมสฺสาทํ
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พื้นเบื้อง
ล่างของมหาปฐพีนี้ ถึงพร้อมแล้ว มีง้วนดินอร่อย เปรียบเหมือนผึ้งเล็ก [มิ้ม]
ที่ไม่มีตัวอ่อนฉะนั้น. ในที่นี้ ทั้งปริปุณณสัมปันนะ ทั้งสมังคิสัมปันนะ ย่อม
ถูก.
บทว่า

วิชฺชา

ความว่า ชื่อว่าวิชชา เพราะอรรถว่าเจาะแทงธรรมที่
เป็นข้าศึก เพราะอรรถว่า ทำให้รู้ และเพราะอรรถว่า ควรได้ ก็วิชชาเหล่านั้น
วิชชา 3 ก็มี วิชชา 8 ก็มี. วิชชา 3 พึงทราบตามนัยที่มาในภยเภรวสูตรนั่นแล
วิชชา 8 พึงทราบตามนัยที่มาในอัมพัฏฐสูตร. ความจริงในอัมพัฏฐสูตรนั้น
ท่านกำหนดอภิญญา 6 กับวิปัสสนาญาณและมโนมยิทธิ เรียกว่าวิชชา 8.
บทว่า

จรณํ

ความว่าพึงทราบ ธรรม 15 เหล่านี้คือ ศีลสังวร, ความคุ้มครอง